“ชา” เป็นเครื่องดื่มที่มีธาตุอาหารตามธรรมชาติประกอบอยู่มากมายอาทิ ฟลูออไรด์ วิตามิน B1,B2,
วิตามิน C, ธาตุเหล็ก แคลเซียม สาร Catechin Polyphenol (สารธรรมชาติในชาที่มีคุณสมบัติเป็นสาร
ต่อต้านอนุมูลอิสระ ข้อมูลจากสถาบันวิจัยสมุนไพรและพืชพิษ) และอื่นๆอีกมากมายตามที่ได้มีการ
วิจัยโดยสถาบันต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันก็มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยยืนยันประโยชน์ของชาถูก
เผยแพร่ออกมาเรื่อยๆและนี่เป็นอีกสาเหตุ ที่ทำให้ “ชา” เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยม
มายาวนานเป็นเวลากว่าสองพันปี
คืออะไร ?
• เด็ดยอดอ่อน •
ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมเด็ด 1 ยอด 2 ใบ
• ผึ่งชา •
ตากชาในลานโล่ง เพื่อให้น้ำในตัวใบชาระเหยออกไปในระดับหนึ่ง
• เหยาชิง (ฝัดชา) •
เพื่อให้ใบชาคลายน้ำที่ก้านใบ และให้สารต่างๆในตัวใบชาเกิดการเปลี่ยนแปลง เมื่อใบชาเหี่ยวก็จะเริ่มดูดซับสารเหล่านี้
ซึ่งจะเป็นกระบวนการเบื้องต้นที่ทำให้ชามีกลิ่น สี และรสชาติที่แตกต่างออกไป ส่วนระยะเวลาและจำนวนครั้ง
ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของชา กลิ่น สี และรสชาติที่ต้องการ
• เฉ่าชิง (นึ่งชา) •
เพื่อหยุดกระบวนการหมักตัว (fermentation) ของใบชา เมื่อชาผ่านกระบวนการให้ความร้อน เอนไซม์ในตัวใบจะถูกหยุดการทำงาน
ทำให้ไม่สามารถทำปฏิกิริยาการหมักตัว และหยุดการเปลี่ยนเป็นสีแดงของตัวใบชา ในขณะเดียวกันก็จะช่วยให้ความชื้นใน
ตัวใบชาระเหยออกไปในระดับหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ตัวใบชามีสภาพอ่อนลง เพื่อให้อยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การนวดม้วนในขั้นตอนต่อไป
• นวดม้วนใบชา •
เพื่อให้สารต่างๆออกมาเคลือบไปที่ตัวใบชา ขั้นตอนนี้ยังเป็นขั้นตอนที่กำหนดว่า ใบชาจะมีลักษณะเป็นเส้นตรงหรือม้วนเป็นลูกกลม
• อบย่างใบชา •
เพื่อลดความชื้นในตัวใบชา เพื่อให้ใบชาคงรูปในขั้นตอนสุดท้าย ทำให้สามารถเก็บใบชาได้นานโดยไม่ขึ้นรา
• อูหลงชาหอม•
ชาหอม 香茶 คนแต้จิ๋วจะเรียกว่า “พังแต๊” ชาอูหลงแนวนี้ เป็นที่นิยมดื่มมากในประเทศไทย เนื่องจากเป็นชาที่มีความหอมสดอ่อนๆ เมื่อดมขณะที่ใบชายังแห้งอยู่ ส่วนใหญ่จะเป็นชาที่มีส่วนผสมของ ชาอัสสัมพื้นเมือง, ชาอูหลง #12, ชาอูหลง #17, ชาอูหลง 21 , ชาอูหลงก้านอ่อน
ชาชนิดนี้จะเป็นชาที่ส่วนใหญ่จะมีรสชาติไม่เข้มข้นมาก เหมาะที่จะดื่มอุ่นๆเป็นชารับอรุณ หรือผสมน้ำแข็งดื่มเพื่อดับกระหายช่วงกลางวัน สีน้ำชาที่ได้จะมีสีเหลืองอำพันอมสีเขียวอ่อนๆ แล้วแต่สัดส่วนของชาที่ร้านชาแต่ละเจ้าเลือกใช้ผสมในสูตร รสชาติอาจติดฝาดขมบ้าง ถ้าใส่ชากับน้ำในสัดส่วนที่ไม่พอดี แต่ถ้ากะสัดส่วนได้พอดี จะได้น้ำชาที่ดื่มได้ทุกเพศทุกวัย จึงเป็นที่มาของการที่คนรุ่นเก่าเข้ามาในร้านชา แล้วตะโกนว่า เอาพังแต๊มาห่อนึง
• อูหลงเถี่ยกวานอิน•
ชาเถี่ยกวานอิน (ทิกวนอิม) ชาอูหลงแนวนี้ จะเป็นที่นิยมดื่มสำหรับผู้ที่รู้สึกว่า “ชาหอม” ยังมีรสชาติที่ยังไม่เข้มข้นพอ ไม่ชุ่มคอเท่าที่ควร จึงมักจะขยับขยายมาดื่มชาชนิดนี้
ชาทิกวนอิมเกรดดี ใบต้องเป็นเส้นม้วนเกลียว อวบอิ่ม มีน้ำหนัก ท้องใบอมเขียว สีฉ่ำสด น้ำที่ชงได้จะมีสีออกเหลืองทอง สีเข้มใส รสชาติ นุ่มชุ่มคอ ดื่มแล้วจะได้ความชุ่มคอที่ยาวนานและจะติดหวานน้ำผึ้งนิดๆ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ชาทิกวนอิม ชงเจ็ดครั้งก็ยังหอมอยู่”
ชาทิกวนอิม (เถี่ยกวานอิน) ในประเทศจีนถือเป็นชื่อพันธุ์ชาชนิดหนึ่ง ที่นิยมจะทำเป็นชาอูหลง ปลูกเป็นหลักในเขตอันซี มณฑลฝูเจี้ยน ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสิบชาดังของประเทศจีน มีคำกล่าวว่า ชื่อ “ทิกวนอิม” เป็นชื่อที่จักรพรรดิเฉียนหลงทรงประทานให้ ส่วนในประเทศไต้หวัน จะหมายถึงชาอูหลงที่ผ่านกระบวนการทำแบบชาทิกวนอิมอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน ซึ่งสามารถใช้ใบอ่อนของ ชาพันธุ์ทิกวนอิมในการผลิต หรือ ใช้ใบอ่อนของชาพันธุ์พื้นเมืองของไต้หวัน ก็ได้
ชาทิกวนอิมมีการผลิตที่เคร่งครัด เทคนิคละเมียดละไม และแบ่งการเก็บชาเป็น 4 ฤดู ซึ่งชาฤดูใบไม้ร่วงถือเป็นชาที่มีคุณภาพดีและเหมาะ ที่จะนำมาทำชาทิกวนอิมที่สุด จะมีกลิ่นหอมที่รุนแรง มักถูกเรียกว่า “หอมฤดูใบไม้ร่วง” รองลงมาคือชาฤดูใบไม้ผลิ
การเด็ดชาสด ต้องเด็ด 1 ยอด 2 ใบ อย่างระมัดระวัง นำใบชาที่ได้ต่างที่ต่างเวลามาแยกออกจากกัน แยกเป็น 3 ช่วง คือ ชาที่เก็บช่วงเช้า ชาที่เก็บตอนกลางวัน และ ชาที่เก็บตอนบ่าย โดยชาสดที่เด็ดช่วงกลางวันจะดีที่สุด โดยชาทิกวนอิมจากเขตอันซีจะแบ่งกรรมวิธีการผลิต ออกเป็น ผึ่งเย็น ผึ่งแดด ผึ่งเย็น ฝัดชา นึ่งชา นวดม้วนชา อบครั้งที่ 1 อบครั้งที่ 2 นวดม้วนอีกรอบ ย่างช้าด้วยไฟอ่อน คัดก้าน จึงจะได้เป็น ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมดื่ม
ชาทิกวนอิมคุณภาพสูง บางครั้งก็ถูกเรียกว่า “ชาสามครบ” ประกอบไปด้วยเงื่อนไขดังนี้
1. ต้องใช้ต้นพันธุ์ทิกวนอิมแท้
2. ปลูกในแหล่งที่มีดินอุดมสมบูรณ์ ภูมิอากาศที่เหมาะสม และได้รับการดูแลใส่ใจที่ดี
3. ยอดอ่อนจะต้องได้รับการเด็ดด้วยความชำนาญอย่างเคร่งครัด
จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
ชาทิกวนอิมจะถูกจัดลำดับขั้นโดยดูจาก ความเข้นข้นของกระบวนการหมัก, ฤดูที่นำชามาทำ และแหล่งเพาะปลูกที่ได้ใบอ่อนมา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดลำดับขั้นคุณภาพของชาทิกวนอิม ว่าจะสามารถขายได้ในราคาสูงสุดเท่าไหร่
• อูหลงเหยียนฉา•
เหยียนฉา (หง่ำแต๊) เป็นหนึ่งในชาดังและมีชื่อเสียงมากชนิดหนึ่งของประเทศจีน ชาชนิดนี้จะมีกลิ่นหอมของแร่ธาตุจากหิน หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า “หอมกลิ่นดอกไม้ในหินผา” จัดเป็นหนึ่งในชาอูหลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากๆ
อูหลงชนิดนี้มีสีชาออกน้ำตาลเข้ม เหมือนที่เห็นอากง อาม่า ชอบดื่มกันเป็นประจำ เหยียนฉาจะหอมกลิ่นย่างไฟชัดเจน รสชาติชาเข้มข้น ชุ่มคอที่สุดในบรรดาอูหลงทั้งหมด
ชาชนิดนี้มีพื้นที่เพาะปลูกตามแนวภูเขาอู่อี๋ในเขตหมิ่นเป่ยของมณฑลฝูเจี้ยน ต้นชาจะขึ้นตามแนวร่องหิน ชาอู่อี๊เหยียนฉาจะมีความหอม ใสของชาเขียว ความชุ่มคอเข้มข้นของชาแดง เป็นหนึ่งในชาชั้นเยี่ยมของประเทศจีน ชาชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทชาอูหลง กรรมวิธีการทำชา จะอยู่ระหว่างชาเขียวกับชาแดง ชาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอู่อี๋เหยียนฉาจะรู้จักกันในนามว่า “ชาต้าหงเผา - ชาผ้าคลุมแดง”
เอกลักษณ์เด่นของเหยียนฉา จะอยู่ที่ปลายใบจะมีลักษณะหงิกงอ คล้ายหัวแมลงปอ สีใบจะออกเป็นสีเขียวอมดำเคลือบสีน้ำตาลฉ่ำ ตัวใบมีกลิ่นหอม ใส รสชาติชุ่มคอเจือด้วยกลิ่นธาตุหินชัดเจน
ชาเขียว เป็นหนึ่งในชนิดชาที่สำคัญของประเทศจีน หมายถึงใบชาหรือต้นชา ที่ไม่ผ่านการหมัก ผ่านแค่กระบวนการนึ่งชา ขึ้นรูปและทำให้ แห้ง เมื่อผ่านกระบวนการทั้งหมด สีใบและสีน้ำของชาชนิดนี้ จะยังคงความเขียวสดของตัวใบ การดื่มชาเขียวเป็นประจำ มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่าจะช่วยป้องกันมะเร็ง ลดคลอเรสเตอรอล และลดความอ้วนได้ พร้อมทั้งยังช่วยลดอันตรายจากนิโคตินสำหรับผู้ที่ชอบสูบบุหรี่
เนื่องจากชาเขียวเป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก จึงทำให้ตัวใบชายังคงอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆจากธรรมชาติอยู่มากมาย เช่น สารโพลีฟีนอล, คาเตชิน, คลอโรฟิล, คาเฟอีน, อะมิโน แอซิด และ วิตามินต่างๆ สารธรรมชาติต่างๆในใบชาเขียวนี้ มีการวิจัยออกมาว่า ช่วยชะลอความแก่ ต้านมะเร็ง ฆ่าแบคทีเรีย ลดการอักเสบ และอื่นๆอีกมากมาย
น้ำชาสีใสเขียวจะเป็นเอกลักษณ์เด่นของชาเขียว ประเทศจีนจะมีพื้นที่เพาะปลูกชาเขียวที่หลากหลายมาก เช่น เหอหนาน กุ้ยโจว เจียงซี อันเหวย เจ้อเจียง เจียงซู เสฉวน เสียซี หูหนาน หูเป่ย กว่างซี ฝูเจี้ยน พื้นที่เหล่านี้เป็นแหล่งปลูกชาเขียวหลักของประเทศจีน
ชาอบดอกไม้ หมายถึง การนำดอกไม้ ใบไม้ หรือ ผลไม้ มาทำเป็นชา เป็นอีกหนึ่งชนิดของชาที่มีเอกลักษณ์มากๆของประเทศจีน หลักการคือ ใช้คุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นที่ดีของใบชามาเป็นจุดเด่นในการผลิต วิธีการคือ นำดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์และมีกลิ่นที่ค่อนข้างแรงประมาณหนึ่ง มาผสมกับใบชาที่ถูกนำไปเพิ่มอุณหภูมิให้ร้อนพอเหมาะ เพื่อกระตุ้นให้ใบชาดูดซับกลิ่นได้ดียิ่งขึ้น หลังจากผสมเสร็จ ก็จะพักชาและดอกไม้ไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง (ขึ้นอยู่กับสูตรของผู้ผลิต) จากนั้นเมื่อระยะเวลาได้ที่แล้ว จึงคัดดอกไม้ออกจากตัวใบชา ก็จะได้ใบชาที่หอมกลิ่นดอกไม้นั้นๆ มีสีน้ำเขียวอมเหลืองใส หอม เหมาะที่จะนำมาชงดื่มในแนว อโรมาเธอราพี (เครื่องดื่มบำบัด) ดอกไม้ที่นิยมนำมาทำเป็นชาอบดอกไม้มีหลายชนิดเช่น ดอกมะลิ ดอกจำปี ดอกกุ้ยฮวา ดอกกล้วยไม้ โดยดอกมะลิจะเป็นดอกไม้ที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำเป็นชาอบดอกไม้มากที่สุด
ชาอูหลง หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ชาสด” หมายถึง ชาที่ผ่านกระบวนการกึ่งหมักหรือหมักเกือบเต็มที่ มีสายพันธุ์ชาที่หลากหลายมาก และเป็นชนิดของชาที่แสดงออกถึงความมีเอกลักษณ์ของชนชาติจีนอย่างเด่นชัด
ชาอูหลงมีพัฒนาการมาจาก หลงถวอนเฟิ่งปิ่งก้งฉา (ชาก้อนบรรณาการมังกรหงส์) ของสมัยราชวงศ์ซ่ง มีกำเนิดราวปี ค.ศ. 1728 (ช่วงจักรพรรดิยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง) ชาอูหลงจะถูกปลูกเป็นจำนวนมาก แถบหมิ่นเป่ยและหมิ่นหนานของมณฑลฝูเจี้ยน, มณฑลกวางตุ้ง และ ไต้หวัน ส่วนมณฑลเสฉวนและหูหนานก็จะมีปลูกบ้างประปราย